วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ
2.ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ มี 2 ประเภท คือ
1.GDSS ป็นระบบสารสนเทศชนิดหนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุน สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semistructured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบ DSS สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารหรือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เท่านั้น ไม้ได้ใช้แทนการทำงานของมนุษย์
2. EIS ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
3.ความแตกต่างของประเภท EIS และ GDSS
ตอบ DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ทรัพย์สินทางปัญญา
1.ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ 2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แบบผังภูมิของวงจรรวม คุ้มครองพันธุ์พืช ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ 2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แบบผังภูมิของวงจรรวม คุ้มครองพันธุ์พืช ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น
เช่น
ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้
สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ
ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น
เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์
เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น
หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า
หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า
ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
2.ลิขสิทธิ์ หมายถึงอะไร
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด
ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา
ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด
รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
(© = สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์)
3.สิทธิบัตร หมายถึงอะไร
สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ
เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม
หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว,ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กิจกรรม โครงงานคอมพิวเตอร์
1.โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร?
ตอบ โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.โครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
ตอบ 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
3.ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง 2 โครงงาน
1. ชื่อ โครงงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ธนาคารความดี
รายละเอียด (แบบย่อ)
รายละเอียด (แบบย่อ)
ตอบ โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.โครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
ตอบ 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
3.ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง 2 โครงงาน
1. ชื่อ โครงงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ธนาคารความดี
รายละเอียด (แบบย่อ)
โครงงานโปรแกรมธนาคารความดีนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลนักเรียน เพิ่มคะแนนความดี หักคะแนนความประพฤติของนักเรียน และผลของการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลนี้กับธนาคารความดี ก็เป็นที่น่าพอใจมากกว่าการบันทึกความดีที่เป็นสมุดรูปเล่ม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้กระดาษเป็นจำนวนมากในการทำเป็นสมุดบันทึกคะแนนความดีให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนซึ่งมีจำนวน 1431 คน อีกทั้งการพกพาสมุดนั้นทำให้เกิดการสูญหายได้ และเกิดการชำรุดได้ง่าย การหาวิธีที่จะใช้กระดาษให้น้อยลงจึงเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้นโปรแกรมธนาคารความดีนี้จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่ารูปเล่มบันทึกแบบเดิม ความคิดในการพัฒนาโปรแกรมธนาคารความดีนี้ได้ถูกคิดต่อยอดจากโปรแกรมเดิมที่มีคุณสมบัติไม่ดีเท่าโปรแกรมตัวใหม่ ทางคณะผู้จัดทำได้นำโปรแกรมมาศึกษาและดัดแปลง ปรับปรุง เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนกลุ่มก่อนได้ทำไว้แต่ยังไม่ดีนัก โดยเริ่มจากการวางแผนเค้าโครงโปรแกรม คิดหาสูตรที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมธนาคารความดี ออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access 2003 ออกแบบเมนูหลักต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น รายการเพิ่มคะแนนความดี รายการหักคะแนนความประพฤติ รายงานคะแนนแบบห้อง หรือแม้แต่ระดับบุคคล และยังสามารถมีประโยชน์ในการใช้งานจริง แล้วจึงมาสร้างในโปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 โดยเริ่มจากการสร้างเมนูหลัก เพิ่มเมนูย่อยอีกหลายรายการเพื่อสะดวกแก่การเก็บหลักฐานพฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นสมาชิกภายในโรงเรียน ข้อมูลภายในโปรแกรมธนาคารความดียังสามารถ เพิ่ม ลบ หรือแก้ไข ข้อมูลสมาชิกหรือข้อมูลต่างๆภายในโปรแกรมได้ ข้อมูลและหลักฐานต่างๆที่ถูกบันทึกในโปรแกรมยังสามารถเก็บเป็นหลักฐาน และรายงานเพื่อส่งต่อให้ฝ่ายปกครองพิจารณาต่อไปได้อีกด้วย โปรแกรมธนาคารความดีนี้จึงเป็นโปรแกรมที่สามารถลดภาระของครูผู้บริหารเกี่ยวกับการควบคุม ดูแลความประพฤติของนักเรียนได้โดยไม่ต้องเพิ่งการตรวจสอบที่ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน ลดขั้นตอนการดูแลได้ในโปรแกรมเดียว และยังสามารถประยุกต์พัฒนาโปรแกรมนี้เพื่อประโยชน์แก่กิจกรรมทางการเรียนของนักเรียนได้อีกด้วย
2.ชื่อ เครื่องมือเอแจ็กซ์สำหรับพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชันได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆมากมาย อาทิ ด้าเศรษฐศาสตร์ ด้านการติดต่อสื่อสารและด้านการศึกษา ซึ่งด้านความต้องการเหล่านี้ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แอปพลิเคชันต่างๆก็มีความพยายามที่จะออกแบบให้คตัวเว็บมีความสวยงาม และมีประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้เทคโนโลยีที่นำมาใช้มีอยู่มากมายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เจ้าของแอปพลิเคชันต้องลงทุนสูงกับการปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ดังนั้นวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ การสร้างเครื่องมือที่ทำการเปลี่ยนแปลงแอปพลิเคชันโดยการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้
เทคโนโลยีเอเเจ็กซ์ เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยให้โต้ตอบกับผู้ใช้อื่นๆได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลนั้นๆจะทำให้ฉากหลัง ทำให้ไม่ต้องดาว์นโหลดทั้งหน้าทุกครั้งท่มีการเปลี่ยนแปลง ช่วยเพิ่มการตอบสนอง ควารวดเร็วและการใช้งานโดยรวมดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเอแจ็กซ์ ได้เข้ามามามีบทบาทกับแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการที่จะเปลี่ยนแปลงแอปพลิเคชัน ไปป็นเชื่อมโยงแบบเอเเจ็กซ์นั้น ถ้าจะต้องแปลงเองทีละเว็บ ก็อาจทำได้ไม่สะดวกนัก ดังนั้น โครงการนี้จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการแปลงแอปพลิเคชันแบดั้งเดิม ไปเป็นแอปพลิเคชันที่มีการเชื่อโยงแบบเอเเจ็กซ์ขึ้น ซึ่งเเนวทางที่จะช่วยให้เปลี่ยนแปลง ทำให้สะดวก ง่ายขึ้น ด้วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำงาน รวมทั้งเป็นดารส่งเสริมให้มีการนำเทโนโลยีเอเเจ็กซ์มาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ดีอีกด้วย
เทคโนโลยีเอเเจ็กซ์ เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยให้โต้ตอบกับผู้ใช้อื่นๆได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลนั้นๆจะทำให้ฉากหลัง ทำให้ไม่ต้องดาว์นโหลดทั้งหน้าทุกครั้งท่มีการเปลี่ยนแปลง ช่วยเพิ่มการตอบสนอง ควารวดเร็วและการใช้งานโดยรวมดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเอแจ็กซ์ ได้เข้ามามามีบทบาทกับแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการที่จะเปลี่ยนแปลงแอปพลิเคชัน ไปป็นเชื่อมโยงแบบเอเเจ็กซ์นั้น ถ้าจะต้องแปลงเองทีละเว็บ ก็อาจทำได้ไม่สะดวกนัก ดังนั้น โครงการนี้จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการแปลงแอปพลิเคชันแบดั้งเดิม ไปเป็นแอปพลิเคชันที่มีการเชื่อโยงแบบเอเเจ็กซ์ขึ้น ซึ่งเเนวทางที่จะช่วยให้เปลี่ยนแปลง ทำให้สะดวก ง่ายขึ้น ด้วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำงาน รวมทั้งเป็นดารส่งเสริมให้มีการนำเทโนโลยีเอเเจ็กซ์มาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ดีอีกด้วย
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Web Browser
1. นักเรียนใช้ Internet สำหรับทำอะไร ให้นักเรียนตอบมา 10 อย่าง
2. เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร ?
ตอบ เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
3.ยกตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ มา 4 โปรแกรม (พร้อมรูปภาพ)
ตอบ 1.โปรแกรม Internet Explorer
ตอบ 1.หาข้อมูลต่างๆ
2.คุยงานกับเพื่อนๆ
3.ฟังเพลง
4.ดูหนัง
5.หาสถานที่ต่างๆ
6.ดาวน์โหลดงาน หนัง เกมส์
7.เล่นเกมส์
8.ส่ง Mail
9.หารูปภาพสวยๆ
10.กาารโอนเงินในเว็บไซต์ของธนาคาร
2. เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร ?
ตอบ เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
3.ยกตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ มา 4 โปรแกรม (พร้อมรูปภาพ)
ตอบ 1.โปรแกรม Internet Explorer
2.Firefox 3.Google Chrome2. 4.Netscape Firefox |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)